Page 98 - JRIHS_VOL1
P. 98

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  93

                      ด้านพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยของคนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ พบว่าระดับ

               พฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยอยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.65 คนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ส่วนใหญ่
               จัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีคมมีอันตรายไว้ในที่เก็บที่ปลอดภัยเมื่อใช้งานเสร็จ และใช้เครื่องมือ

               ช่วยในกรณีที่ต้องยกของหนักเกินกําลังเช่นลูกรอก ก่อนใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าท่านตรวจสอบบริเวณ
               รอยต่อหรือข้อต่อต่างๆ ว่าแน่นดีถ้าหลวมอาจเกิดประกายไฟหรือความร้อนซึ่งจะเป็นสาเหตุให้

               เกิดเพลิงไหม้ได้ พฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยอยู่ในระดับดี เนื่องจากในพื้นที่บ้านบากชุมและ

               บ้านห้วยเดื่อ มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสาธารณสุขเข้ามาตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง
               พร้อมทั้งตรวจสุขภาพประจําปี ให้กับคนงานในสถานประกอบการณ์วิสาหกิจชุมชนทํา

               เฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นประจําทุกปีทําให้คนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้มีการปฏิบัติตัวที่ดีและปฏิบัติจน
               เกิดความเคยชินจึงมีพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยในระดับดี และมีความสอดคล้องกับ

               การศึกษาของภัทรทิยา กิจจิว (2551) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลพฤติกรรมการป้องกัน

               อุบัติเหตุจากการทํางานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
               เขตอําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่าพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทํางานของ

               พนักงานฝ่ายผลิตอยู่ในระดับดีมาก โดยพนักงานฝ่ายผลิตมีการตรวจสอบเครื่องมือก่อนลงมือ

               ทํางาน และความพร้อมของเครื่องจักรก่อนทํางานทุกครั้ง อึกทั้งพนักงานฝ่ายผลิตได้ปฏิบัติตาม
               ขั้นตอนการทํางานอย่างเคร่งครัดและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่โรงงานได้กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด

               และสอดคล้องการศึกษาของพรรณี ธนาพล (2547) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ใช้
               แรงงานในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ในอําเภอแกลง จังหวัดระยอง พบว่าผู้ใช้แรงงานมี

               พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับสูง แสดงว่าผู้ใช้แรงงานมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่ถูกต้องเป็น

               ส่วนมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะโรงงานมีกฎ ระเบียบ และกติกาของโรงงานที่ผู้ใช้แรงงานจะต้อง
               ปฏิบัติตามเพื่อผลประโยชน์ของตนอง และยังคงมีการพัฒนาการทํางาน เช่น มีการนําเอาหลัก 5

               ส. มาดําเนินการภายในโรงงาน มีการณรงค์ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกอีกด้วย
                      ด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากการทําเฟอร์นิเจอร์ไม้พบว่า การใช้

               อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80.00 คนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ศึกษา

               ข้อมูลวิธีการใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนนํามาใช้งาน เช่น อ่านคู่มือการใช้
               งานและตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทุกครั้งก่อนนํามาใช้เมื่ออุปกรณ์

               ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลชํารุดจะเปลี่ยนหรือซ่อมแซมก่อน คนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้มีการใช้

               อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลระดับสูง เนื่องจากคนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้รับการ
               สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ หน้ากาก
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103