Page 97 - JRIHS_VOL1
P. 97
92 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
จากตารางที่ 6 พบว่า คนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้มีพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยเฉลี่ย
83.18 คะแนน และตอบแบบสอบถามพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยได้คะแนนสูงสุด 100
คะแนน ได้คะแนนต่ําสุด 28 คะแนน ระดับพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยอยู่ในระดับสูง
ร้อยละ 87.65 มีพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 7.06 และมี
พฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยอยู่ในระดับต่ํา ร้อยละ 5.29
ส่วนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุการ
เจ็บป่วยจากการทํางานการป้องกันการควบคุมอุบัติเหตุจากการทํางาน และ อุปกรณ์ป้องกัน
อันตรายส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยของคนงาน ทําเฟอร์นิเจอร์ไม้
ตารางที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยจาก
การทํางานการป้องกันการควบคุมอุบัติเหตุจากการทํางาน และ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วน
บุคคลกับพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยของคนงาน ทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ (n=170)
พฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัย
ระดับต่ํา ระดับปานกลาง ระดับดี
ระดับความรู้ จํานวน จํานวน จํานวน รวม 2 p-value
(%) (%) (%) (n=170) x
ระดับต่ํา 9(5.30) 0(0.00) 2(1.20) 11(6.50)
ระดับปานกลาง 0(0.00) 2(1.20) 11(6.50) 13(7.60) 56.456 0.000*
ระดับสูง 0(0.00) 10(5.90) 136(80.00) 146(85.90)
รวม 9(5.30) 12(7.10) 149(87.60) 170(100)
*Fisher’s Exact test
จากตารางที่ 7 พบว่า ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุการเจ็บป่วยจากการ
ทํางานการป้องกันและการควบคุมอุบัติเหตุจากการทํางานเฟอร์นิเจอร์ไม้มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (<0.001) จึงยอมรับสมมติฐานข้อที่ 1
สรุปและอภิปรายผล
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการ
ทํางานที่ปลอดภัยของคนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า