Page 17 - JRIHS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 17

12  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.4 October-December 2018

             ตรวจ hemoglobinA1c; HbA1c สําหรับประเทศไทยมีเปาหมายในการควบคุมระดับน้ําตาลใน
             เลือดที่ FBS 70-110 mg/dL หรือ HbA1c < 6.5 %, FBS 80-130 mg/dl หรือ HbA1c < 7.0

             % และ FBS 140-170 mg/dl หรือ HbA1c < 7.0–8.0% สําหรับคนที่ตองควบคุมเขมงวดมาก
             ควบคุมเขมงวดและควบคุมไมเขมงวดตามลําดับ การปฏิบัติในการติดตามผลงานการรักษา ไดแก
             การตรวจระดับน้ําตาลในเลือดขณะอดอาหาร และ/หรือหลังอาหารทุกครั้งที่พบแพทย ตรวจ
             HbA1c อยางนอยปละ 1 ครั้ง การประเมินและตรวจหาโรคแทรกซอนเปนระยะ โดยตรวจเลือด
             ดูคาการทํางานของไต ระดับไขมันและตรวจตาปละ 1 ครั้ง คาน้ําตาลในเลือดที่ใชติดตามผูปวย

             ระยะยาว เพื่อประเมินถึงภาวะแทรกซอนที่ตามมา คือคาน้ําตาลสะสมในเลือด HbA1c ซึ่งใชเปน
             ตัวชี้วัดในการควบคุมน้ําตาล (สมาคมโรคเบาหวานแหงประเทศไทยฯ, 2561)
                     จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผานมา พบวาปจจัยที่มีความสัมพันธกับการควบคุมระดับ

             น้ําตาลในเลือดของผูปวยเบาหวาน มีทั้งปจจัยดานขอมูลพื้นฐานสวนบุคคล เชน อายุ เพศ ระดับ
             การศึกษา คาดัชนีมวลกาย ปจจัยดานการรับรูสมรรถนะแหงตนตอการควบคุมระดับน้ําตาลหรือ
             พฤติกรรมการดูแลตนเอง ปจจัยดานความรูเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และปจจัยดานแรงสนับสนุน
             ทางสังคม สําหรับปจจัยดานขอมูลพื้นฐานสวนบุคคล พบวาจากการศึกษาปจจัยที่มีผลตอการ

             ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดของผูเปนเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลรองคํา อําเภอรองคํา
             จังหวัดกาฬสินธุ ของโศรดา ชุมนุย และคณะ (2550) พบวา ผูปวยเบาหวานที่มีเพศตางกัน มี
             ความรูและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศ
             หญิงมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพดีกวาเพศชาย ขณะที่การศึกษาของ Pablos-Velasco และ

             คณะ (2014) ซึ่งศึกษาปจจัยที่มีผลตอระดับน้ําตาลในเลือดของผูปวยเบาหวานชนิดที่ 2 ใน
             ประเทศแถบยุโรป กลับพบวา เพศชายสามารถควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไดดีกวาเพศหญิง
             สอดคลองกับการศึกษาของกุสุมา กังหลี (2557) พบวา เพศหญิงมีโอกาสที่จะไมสามารถควบคุม
             ระดับน้ําตาลในเลือดได มากกวาผูปวยเบาหวาน ชนิดที่ 2 เพศชาย เปน 1.72 เทา (OR = 1.72,

             95% CI = 0.32-1.04) เมื่อศึกษาปจจัยดานอายุ จากการศึกษาของ Pablos-Velasco และคณะ
             (2014) พบวา ผูปวยที่มีอายุนอยมีแนวโนมที่จะควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไมได (OR = 0.98,
             CI = 0.97-0.99, P-value <. 001) แตจากการศึกษาของกุสุมา กังหลี (2557) กลับพบวาผูปวย
             เบาหวานที่มีอายุมากกวา 60 ปขึ้นไป มีโอกาสที่จะไมสามารถควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดได

             มากกวาผูปวยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุนอยกวา 60 ป เปน 2.88 เทา (OR = 2.88, 95% CI =
             1.60-5.22)
                     จากการศึกษาปจจัยที่มีความสัมพันธตอพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดของ
             ผูปวยเบาหวานใน โรงพยาบาลรามาธิบดี ของอนุชา คงสมกัน (2555) พบวาการรับรู

             ความสามารถของตนเองในดานการควบคุมอาหาร การออกกําลังกายและการรับประทานยา มี
             ความสัมพันธกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดของผูปวยเบาหวานอยางมีนัยสําคัญ
             ทางสถิติ (p-value < 0.001) เแตจากการศึกษาของ กุสุมา กังหลี (2557) พบวาปจจัยทางดาน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22