Page 29 - JRIHS VOL2 NO1 January-March 2018
P. 29

24  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.1 January-March 2018

             สารละลายทางหลอดเลือดดํา รอยละ 98 ของผูปวยทั้งหมด ถึงแมวาการใหสารละลายทาง
             หลอดเลือดดําจะมีประโยชนมาก ขณะเดียวกันก็อาจเกิดภาวะแทรกซอนที่เปนอันตรายได

             เชนกัน การใหสารละลายทางหลอดเลือดดํา มีวิธีการใหไดสองทาง คือ การใหทางหลอดเลือดดํา
             ใหญ (central line) โดยการใหทางหลอดเลือดดําจูกูลา (jugular) ซับคลาเวียน (subclavian)
             หรือ ฟโมรอล (femoral) และการใหทางหลอดเลือดดําสวนปลาย (peripheral) ไดแก แขน มือ
             และเทา ปญหาที่ตามมาจากการใหสารละลายทางหลอดเลือดดํา คือ อาจกอใหเกิดการติดเชื้อใน
             กระแสเลือด (sepsis) อยางไรก็ตาม การใหสารละลายทางหลอดเลือดดําสวนปลาย มีความเสี่ยง

             ที่จะเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และมีความรุนแรงนอยกวาการใหทางหลอดเลือดดําใหญ ซึ่ง
             ถือวาการใหสารละลายทางหลอดเลือดดําใหญ จะมีอันตรายมากกวาทางหลอดเลือดดําสวน
             ปลาย (Steele, 1996) หากไมจําเปนจะไมนิยมให แตจะใหทางหลอดเลือดดําสวนปลายเปนสวน

             ใหญ จากการศึกษาของ Peter, et al. (1972) เปรียบเทียบการติดเชื้อเฉพาะที่ (local
             infection) จากการใหสารละลายโดยใสสายเขาทางหลอดเลือด (polyethylene catheter)
             ดวยการทําผาตัดเล็ก (cut down) กับการใหสารละลายทางหลอดเลือดดําสวนปลายโดยการใช
             เข็ม (scalp vein) ในผูปวยเด็ก พบวา การใหสารละลายทางหลอดเลือดดําโดยการใสสาย มีการ

             ติดเชื้อเฉพาะ มากกวาอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (P< 0.06) การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด
             (bacterianemia) พบในพวกที่ใหสารละลายโดยการใสสายเขาทางหลอดเลือดดําเทานั้น ถือวา
             การใหสารละลายทางหลอดเลือดดําสวนปลายมีความประหยัดและคุมคามากกวา โดยเฉพาะใน
             ผูปวยที่ใหสารละลายนอยกวา 5 วัน (Campos, et al., 1989) การใหสารละลายทางหลอดเลือด

             ดําสวนปลายในผูปวย เปนเรื่องที่ละเอียดออน ตองอาศัยทั้งศาสตรและศิลป ใชเทคนิคเฉพาะ
             คอนขางมาก เนื่องจากผูปวยในระยะวิกฤตหรือผูปวยเรื้อรังหลอดเลือดเปราะบางและแตกงาย
             ทําใหเปดหลอดเลือดลําบาก แลวผูปวยเหลานี้ยังมีภูมิคุมกันโรคต่ํา การใหสารละลายทางหลอด
             เลือดดําสวนปลาย อาจเปนหนทางนําเชื้อโรคเขาสูรางกายได หากมีเทคนิคและวิธีปฏิบัติที่ไม

             เหมาะสม อีกประเด็นคือ การไมใหความรวมมือในการรักษาของผูปวย ถือเปนอุปสรรคที่สําคัญ
             เนื่องจากผูปวยที่อยูในระยะวิกฤตสวนใหญ ระดับการรูสติจะลดลง บางรายไมรูสึกตัว และการ
             เปดหลอดเลือดเพื่อใหสารละลายทางหลอดเลือดดําสวนปลายในหอผูปวยวิกฤต เปนกิจกรรมที่
             พยาบาลตองปฏิบัติเปนประจําแทบทุกราย จากการสํารวจในชวงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม

             2553 พบวา คาเฉลี่ยที่พยาบาลตองเปดหลอดเลือดเพื่อใหสารละลายจํานวน 5 ครั้งตอวัน และ
             บางครั้งตองใชเวลามากในการที่จะปฏิบัติกิจกรรมดังกลาวใหสําเร็จลุลวงไปดวยดี การให
             สารละลายทางหลอดเลือดดําสวนปลาย เปนวิธีการรักษาพยาบาลที่มีความจําเปนในการดูแล
             ผูปวย และพบบอย แมวาการใหสารละลายทางหลอดเลือดดําสวนปลาย จะมีประโยชนตอการ

             รักษาผูปวย แตก็อาจสงผลใหเกิดภาวะแทรกซอนจากการรักษาพยาบาลได
                         คุณภาพชีวิตของผูปวยซึ่งอยูในภาวะเจ็บปวย และตองนอนรักษาอยูในโรงพยาบาลจะ
             ดีหรือไม ขึ้นอยูกับบุคลากรทางการแพทย และพยาบาลเปนบุคลากรที่ตองรับผิดชอบโดยตรงใน
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34