Page 61 - JRIHS VOL1 NO3 October-December 2017
P. 61

56  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

             ผูปวย ที่ไดรับการคัดกรองวาปวย) และคาความจําเพาะ (รอยละของผูที่ไมปวย ไดรับการคัด
             กรองวาไมปวย) ที่เหมาะสม เพื่อแยกเปนกลุมดื่มแบบเสี่ยง (Hazardous use) และกลุมดื่มแบบ

             อันตราย (Harmful use) นอกจากนั้น ยังไดมีการตรวจสอบความตรงของขอคําถาม กับการ
             วินิจฉัยการดื่มแบบอันตราย (Harmful use) และการดื่มแบบติด (Dependence) อีกดวย จาก
             กลุมตัวอยางที่ศึกษา จุดตัดคะแนน AUDIT ที่ 8 คะแนน บงชี้วาเปนการดื่มแบบมีปญหา ดวยคา
             ความไวที่ประมาณ 0.95 และคาความจําเพาะเฉลี่ยประมาณ 0.80 การทดสอบความเชื่อมั่น
             (Reliability) ของแบบประเมิน AUDIT ในหลายรายงานการศึกษา ผลพบวา แบบประเมิน

             AUDIT มีความสอดคลองภายในอยูในระดับสูง ซึ่งบงชี้วา มีความนาเชื่อถือที่จะวัดสิ่งหนึ่งสิ่ง
             เดียว เมื่อทดสอบความเชื่อมั่นแบบทดสอบซ้ํา (Test-retest reliability) พบวา มีความเชื่อมั่น
             สูง (r=.86) (ปริทรรศ ศิลปกิจ และพันธุนภา กิตติรัตนไพบูลย, 2552)


             การวิเคราะหขอมูล
                     ในการวิจัยนี้ ใชสถิติเชิงพรรณนา ไดแก จํานวน รอยละ คาเฉลี่ย คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน
             เพื่ออธิบายขอมูลลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล และระดับความ

             เสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลของผูดื่มในชุมชน

             ผลการวิจัย
                     การศึกษาวิจัยเรื่องนี้แบงออกเปน 3 สวน ไดแก คุณลักษณะทั่วไปทางประชากร

             ของผูใหขอมูล พฤติกรรมการเครื่องดื่มแอลกอฮอลของคนในชุมชน ประเมินโดยใชแบบ
             ประเมิน AUDIT และระดับความเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล ซึ่งผลการศึกษา

             แสดงใหเห็นปรากฏการณการใชเครื่องดื่มแอลกอฮอล ความรูสึกนึกคิด สภาพปญหา
             ความคิดเห็น และพฤติกรรมการใชเครื่องดื่มแอลกอฮอล ซึ่งจะสามารถสะทอนใหเห็น

             ปญหาอยางครอบคลุม และเปนประโยชนตอการเฝาระวังปญหาที่เกี่ยวของกับการดื่ม

             เครื่องดื่มแอลกอฮอล ไดดังนี้
                     สวนที่ 1 ขอมูลทั่วไปทางประชากรของผูใหขอมูล
                     การศึกษาครั้งนี้ พบวา สัดสวนของกลุมตัวอยางเพศชายและเพศหญิงใกลเคียงกัน อายุ
             ของผูใหขอมูล เฉลี่ยประมาณ 41.75 ป ในสวนของสถานภาพสมรส พบวา สถานภาพของผูดื่ม

             ในชุมชนสวนใหญมีสถานภาพคู รอยละ 58.8 ระดับการศึกษา พบวา สวนใหญมีระดับการศึกษา
             ในระดับประถมศึกษา รอยละ 41.2 การทํางานของผูดื่มในชุมชน ซึ่งในที่นี้หมายถึง การประกอบ
             อาชีพ ไดแก คาขาย รับจาง เกษตรกรรม ขาราชการ สวนใหญประกอบอาชีพคาขาย รอยละ
             29.5 แตจากผลการสํารวจ พบวา มีผูไมไดประกอบอาชีพมากถึง รอยละ 39.3 รายละเอียดดัง
             ตารางที่ 1
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66