Page 58 - JRIHS_VOL1_NO2
P. 58

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.2 July-September 2017   53

                การที่เคยอยูรวมกับบิดามารดา ตองมาใชชีวิตอยูตามลําพัง หรือมาเชาหองพักอยูกับเพื่อน
                ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการที่ใหผูปกครองดูแล มาเปนดูแลและรับผิดชอบตนเอง มีชีวิตที่เรงรีบ

                ไมมีใครมาตักเตือน แนะนําการดําเนินชีวิต และรับเอาวัฒนธรรมคานิยมการบริโภคอาหารจาน
                ดวนเขามา ประกอบกับอาศัยในหอพัก ขาดอุปกรณ และขาด ทักษะในการปรุงอาหาร ไม
                สามารถประกอบอาหารรับประทานเองได ทําใหรางกายไดรับสารอาหารที่มี คุณคาทาง
                โภชนาการไมครบถวน ดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกําลัง รวมถึงการงดรับประทานอาหาร ใชยาลด
                น้ําหนัก สอดคลองกับงานวิจัยของจรรยา เศรษฐพงษ, เกียรติกําจร กุศล, สายฝน เอกวรางกูร,

                และปยธิดา จุลละปย (2553) ที่พบวา กลุมตัวอยางมีพฤติกรรมเสี่ยงทางดานการรับประทาน
                อาหาร ระดับปานกลาง รอยละ 27.4 ทั้งนี้เกิดจากนักศึกษาขาดความตระหนักถึงความสําคัญ
                ของการรับประทานอาหาร และมีการรับประทานอาหารที่ไมเหมาะสมตอสุขภาพ เชน การ

                รับประทานอาหารจานดวนที่มีโปรตีน และไขมันสูง ไมรับประทานผัก (สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ,
                2549) เนื่องมาจากกลุมตัวอยางศึกษาในพื้นที่สังคมเมือง มีรานคาสะดวกซื้อ รานอาหารจาน
                ดวนมากมาย ทําใหกลุมตัวอยางสามารถหาซื้ออาหารจานดวน น้ําอัดลม น้ําหวาน รับประทาน
                ไดงาย

                        6. ดานการออกกําลังกาย พบวา พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพดานการออกกําลังกาย อยู
                ในระดับเสี่ยงนอย สอดคลองกับการศึกษาของ เดือนแกว ลีทองดี, เสาวลักษณ ศรีดาเกษ และ
                วัชรพล วิวรรศน เถาวพันธ (2553) พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญ มีพฤติกรรมเสี่ยงดานการออก
                กําลังกายอยูในระดับต่ํา รอยละ 69.7 จากการศึกษาของ วะนิดา นอยมนตรี และนัยนา พิพัฒน

                วณิชชา (2558) พบวา นักศึกษาบางสวนยังขาดการออกกําลังกาย และขาดแรงจูงใจ รวมทั้งขาด
                ความพรอมในเรื่องอุปกรณ และสถานที่ในการออกกําลังกายภายในสถานศึกษา นอกจากนี้ยังมี
                สิ่งอํานวยความสะดวกตาง ๆ เชน การใชลิฟทแทนการเดินขึ้นบันได การใชเครื่องใชไฟฟาทํางาน
                แทน เชน เครื่องซักผา อีกทั้งการดูโทรทัศน การเลนเกมสคอมพิวเตอร เวลาในแตละวันหมดไป

                จนไมสามารถออกกําลังกายได ทั้งนี้วัยรุนสวนใหญก็ทราบวาการออกกําลังกายจะทําใหสุขภาพดี
                รางกายแข็งแรง รูปรางสมสวน จิตใจราเริงแจมใส ระบบตาง ๆ ในรางกายทํางานมีประสิทธิภาพ
                มากขึ้น เพราะในปจจุบันการขยายตัวของธุรกิจ ทําใหมีการสรางศูนยการคา และสถานบันเทิง
                มากกวาการสรางสนามกีฬา (มัณฑนา ธนะพันธุ, 2551)


                ขอเสนอแนะในการนําผลการศึกษาไปใช
                       1.  ผูที่มีสวนเกี่ยวของ เชน พอ แม ผูปกครอง ครู เจาหนาที่สาธารณสุข เปนตน ควรให
                ความรูความเขาใจ ถึงผลดีของการรับประทานอาหารที่ถูกตอง ควบคูไปกับการใหความรู

                เกี่ยวกับการออกกําลังกายที่ถูกตองเหมาะสม และใหตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นในการ
                รับประทานอาหารที่ไมถูกตอง
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63