Page 90 - JRIHS_VOL1
P. 90

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  85

                      งานวิจัยนี้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ วิทยาลัยการ

               สาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี  (หมายเลขใบรับรอง S007/2559)
                      การเก็บรวบรวมข้อมูล

                      การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลวิจัยในเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2559 โดยมี
               การขออนุญาตผู้ใหญ่บ้านบ้านบากชุมและบ้านห้วยเดื่อเพื่อขอเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นผู้วิจัย

               และอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับรายละเอียดแบบสอบถาม

               แล้วดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจากคนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ในเขตบ้านบากชุม และบ้าน
               ห้วยเดื่อ ตําบลโนนก่อ อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี จํานวน 170 คน โดยใช้แบบสอบถาม

                      การวิเคราะห์ข้อมูล
                      การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนําแบบสอบถามและแบบทดสอบที่ได้เก็บจากกลุ่มตัวอย่าง

               ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปในการคํานวณ ดังนี้

                      1.  การวิเคราะห์ลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ พฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัย การใช้
               อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่

               ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ̅) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

                      2.  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุการ
               เจ็บป่วยจากการทํางานการป้องกันและการควบคุมอุบัติเหตุจากการทํางานกับพฤติกรรมการ

               ทํางานที่ปลอดภัยวิเคราะห์โดยใช้ สถิติไคสแควร์ (Chi-square)


               ผลการวิจัย

                      ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของตัวอย่าง ตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 76.47 อายุค่าเฉลี่ย 37.26 ปี

               อายุต่ําสุด 18 ปี สูงสุด 72 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 53.53 หน้าที่ในการ
               ปฏิบัติงาน พบว่า คนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้มีหน้าที่ เลื่อยไม้ ซอยไม้ ร้อยละ 90.00 และรองลงมา

               คือไสไม้ด้วยกบไฟฟ้า ร้อยละ 88.20 ประวัติการเจ็บป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจ พบว่า คนงาน
               ทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ไม่เคยเจ็บป่วย ร้อยละ 99.41 ประวัติการได้รับอุบัติเหตุในรอบ 1 เดือน พบว่า

               ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุ ร้อยละ 98.82 และไม่เคยได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทํางานที่

               ปลอดภัย ร้อยละ 99.41 คน งานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล คือ มีถุง
               มือร้อยละ 90.00 รองลงมาคือหน้ากากอนามัย ร้อยละ 78.24 แว่นตานิรภัย ร้อยละ 34.12

               รองเท้าหัวเหล็กร้อยละ 30.59 และ Ear Plugs ร้อยละ 5.29
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95