Page 89 - JRIHS_VOL1
P. 89
84 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยของ
คนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ ตําบลโนนก่อ อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
วิธีดําเนินการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดใดจุดหนึ่ง (Cross-sectional
Analytical Study Design)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
กําหนดขนาดของตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นคนงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ บ้านบากชุมและบ้านห้วยเดื่อ ตําบลโนน
ก่อ อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการเก็บข้อมูล
ผู้วิจัยได้เพิ่มขนาดตัวอย่าง 10% จึงได้ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ทั้งสิ้น จํานวน 170 คนจาก
ประชากรจํานวน 267 คน โดยจะทําการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random
Sampling) มีสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างดังนี้ บ้านบากชุมมีจํานวนประชากร 127 คน จํานวนกลุ่ม
ตัวอย่าง 81 คน บ้านห้วยเดื่อมีจํานวนประชากร 140 คน จํานวนกลุ่มตัวอย่าง 89 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ผ่านการตรวจคุณภาพเครื่องมือ ความตรง
เนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านได้ค่า IOC เท่ากับ 0.6 จากนั้นนําไปทดลอง
ใช้กับคนงานทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ บ้านหินสูง ตําบลช่องเม็ก อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่ง
มีลักษณะใกล้เคียงกับประชากร จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบ
ไปด้วย แบบสอบถามและแบบทดสอบ แบ่งออกเป็น 4 ตอน โดยมีการปรับปรุงใช้แบบสอบถามของ
ธรรมรักษ์ ศรีมารุต (2555) ปรัชญา ไชยอินคํา (2556) และ พรทิพย์ แก้วจันทร์ (2548)
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปลักษณะคําถามเป็นแบบมีตัวเลือกให้ตอบ
ตอนที่ 2 แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยจากการ
ทํางานการป้องกันและการควบคุมอุบัติเหตุจากการทํางานเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยเลือกตอบถูกและผิด
(KR-20 เท่ากับ 0.813)
ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ลักษณะ
คําตอบเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า Rating scale (ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.804)
ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัยลักษณะคําตอบเป็น
แบบมาตราส่วนประมาณค่า Rating scale (ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.831)