Page 52 - JRIHS_VOL1
P. 52
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 47
thinking and decision making, communication abilities to prevent HIVs and
willingness to take actions preventing aids compared to before joining the program
and the comparison result was at the level of 0. 01 significantly difference
(P-value<0.01)
In conclusion, the Health Education program with the application of life
skills, combined with social support in preventing HIVs behaviors in Mattayom 2
school students in Ubon Ratchathani is effective and can be utilized in HIVS
preventing behaviors of students at the same level.
Keywords: Life Skills, Social Support, HIVs Prevention Behaviors
บทนํา
โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของโลก จากสถิติผู้ติดเชื้อเอชไอ
วีระหว่างปี คศ. 2010-2012 มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยพบว่ามีจํานวนมากถึง 34.4, 34.9 และ 35.3
ล้านคน ตามลําดับ ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตเกือบ 30 ล้านคน นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นผู้ติดเชื้อราย
ใหม่ 2.7 ล้านคน (Souksamone Thongmixay และรุจิรา ดวงสงค์, 2556) จากอุบัติการณ์การ
ติดเชื้อเอชไอวีในเด็กวัยรุ่นและเยาวชนทั่วโลกในช่วงระยะเวลา 3 ปีดังกล่าว มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 41 ของจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของผู้ใหญ่ (UNAIDS, 2011)
จากรายงานการวิจัยหลายฉบับของประเทศไทยพบว่า วัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุ
น้อยและมีคู่หลายคนจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการ
ตั้งครรภ์ไม่พร้อม (สํานักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2559) และ
จากผลการสํารวจข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาล
50 พรรษามหาวชิราลงกรณ ระหว่างปี พ.ศ.2556- 2558 พบว่าวัยรุ่นมีพฤติกรรมสี่ยงทางเพศฉ
ลี่ยเร้อยละ 2.16 (โรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ, 2559)
ปัจจัยที่ทําให้เด็กวัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติด เชื้อเอชไอวี พัฒนาการทางเพศเริ่ม
เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ขาดความรู้เรื่องเพศ ขาดทักษะในการวิเคราะห์สถานการณ์เสี่ยงต่อการมี
เพศสัมพันธ์ ค่านิยมทางเพศเปลี่ยนไป ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางเพศในทางสนับสนุนให้เกิด
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (วราภรณ์ บุญเชียง, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์, วารุณี ฟองแก้ว, และพิมพา
ภรณ์ กลั่นกลิ่น, 2556) ในขณะที่การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กวัยรุ่นที่มีประสิทธิภาพ คือ
การหยุดยั้งพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี การพัฒนาทักษะชีวิต (อานนท์ พลแสน, 2551)