Page 74 - JRIHS VOL2 NO3 July-September 2018
P. 74

Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.2 No.-3 July-September 2018   69

                เรื่องการเงิน และการเตรียมยอมรับการเปลี่ยนแปลงตาง ๆ ของรางกายที่ตองเผชิญในวัยชรา
                (ภาณุวัฒน มีชะนะ และคณะ, 2560)

                        ดานโรคประจําตัว การศึกษาของอุมาพร สงวนญาติ (2557) พบวาผูปวยโรคเรื้อรัง มี
                คุณภาพชีวิตที่ลดลง เนื่องจากโรคเรื้อรังเปนโรคที่รักษาไมหายขาด ตองรับการรักษาอยาง
                ตอเนื่อง และตองพึ่งพาผูอื่นในการเขารับการรักษาหรือไปตามแพทยนัดแตละครั้ง สงผลให
                ผูสูงอายุรูสึกถึงความมีคุณคาในตนเองลดลง ในการศึกษาครั้งนี้พบวากลุมตัวอยางกวาครึ่งมีโรค
                ประจําตัว คิดเปนรอยละ 52.3 โรคที่พบมากไดแก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรค

                ไขมันในโลหิตสูง ตามลําดับ แตเมื่อพิจารณาของกลุมตัวอยางแลวพบวา คะแนน ADL อยูในชวง
                18-20 จึงสามารถพึ่งพาและดูแลตนเองไดสอดคลองกับงานวิจัยของนงนุช แยมวงษ (2557)
                พบวาผูสูงอายุที่ยังสามารถชวยเหลือตนเองไดมีมากถึงรอยละ 90 มีระดับความมีคุณคาในตนเอง

                อยูในเกณฑที่สูงจากการที่สามารถทํากิจกรรมตางๆ ไดดวยตนเอง ไมตองพึ่งพาผูอื่น ทําให
                ผูสูงอายุมีความรูสึกมีคุณคา และคุณภาพชีวิตที่ดี
                        ดานความสัมพันธในครอบครัว พบวา กลุมตัวอยางมีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.4 คน
                รอยละ 70.9 มีสัมพันธภาพในครอบครัวอยูในระดับดี จากการสังเกตพบวา ชุมชนหนองกินเพล

                เปนชุมชนที่เปนชนบท แตละครัวเรือนมีการอยูรวมกันแบบครอบครัวใหญ ซึ่งระแวกใกลเคียงเปน
                บานของญาติพี่นองครอบครัวเดียวกันเสมอ มีการพบปะพูดคุยกัน รับประทานอาหารรวมกันตอน
                กลางวัน เสริมสรางปฏิสัมพันธกันอยางเปนกันเอง ซึ่งสัมพันธกับการศึกษาของชลกร ศิรวรรธนะ
                (2556) พบวา สัมพันธภาพในครอบครัวในดานการสื่อสารของผูสูงอายุมีความสัมพันธกับคุณภาพ

                ชีวิต โดยการที่ไดสื่อสารกันทําใหความสัมพันธดานตางๆ ดีขึ้นไปดวย สมาชิกทุกคนในครอบครัวมี
                ความเขาใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งการไดรับรูถึงความรูสึกซึ่งกันและกัน ทําใหยกระดับคุณภาพชีวิต
                ของผูสูงอายุ และรวมไปถึงการไดแสดงบางสิ่งใหครอบครัวไดรับรูถึงคุณคาของตนเอง
                        ดานสาธารณูปโภค พบวา สาธารณูปโภคของกลุมตัวอยางสวนใหญมีน้ําประปา ไฟฟา

                และโทรศัพทมือถือใชคิดเปนรอยละ 68.8  มีน้ําประปาและไฟฟาคิดเปนรอยละ 29.4 และมี
                ไฟฟาใชเพียงอยางเดียว และใชน้ําบาดาลแทนน้ําประปาจํานวน 5 ราย คิดเปนรอยละ 1.8  ซึ่ง
                สอดคลองกับงานวิจัยของนภัสวรรณ ทรัพยมา (2557)  พบวา สาธารณูปโภคเปนทรัพยากรที่มี
                ความจําเปนตอการดําเนินชีวิตประจําวัน ซึ่งการมีสิ่งแวดลอมที่เอื้ออํานวยตอการดํารงชีวิตจะ

                สงผลใหผูสูงอายุมีจิตใจที่สงบ มีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งการพึงพอใจในการดํารงชีวิตในแตละวัน
                สัมพันธกับระดับความรูสึกมีคุณคาในตนเองและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
                        ดานกิจกรรมยามวาง จากการศึกษาพบวา กลุมตัวอยางสวนใหญเขาชมรมผูสูงอายุ เขา
                วัดทําบุญ และชวยเหลืองานสังคม รอยละ 31.2 ทั้งนี้ในตําบลหนองกินเพลยังมีโรงเรียนผูสูงอายุ

                สําหรับใหผูสูงอายุรวมกันทํากิจกรรม ไดพบปะพูดคุย และมีปฏิสัมพันธกับบุคคลอื่นที่มาเขารวม
                กิจกรรม ซึ่งสอดคลองกับการศึกษาของอรรณพ ตันละมัย (2556) พบวา กิจกรรมยามวางมี
                ความสัมพันธอยางสูงตอการพัฒนาทักษะการทํางาน และยังชวยเพิ่มคุณคาในชีวิตมากขึ้นเนื่องจาก
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79