Page 63 - JRIHS VOL2 NO1 January-March 2018
P. 63
58 Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.2 No.1 January-March 2018
มีความสุขโดยรวมอยูในระดับปานกลาง และสอดคลองกับงานวิจัยที่พบวา ผูสูงอายุมีคะแนน
เฉลี่ยอยูในระดับปานกลาง ซึ่งความสุขนั้น เกิดจากการพึ่งตนเองในบั้นปลายชีวิตของผูสูงอายุ ซึ่ง
มี 4 ประเด็นหลักคือ ผูสูงอายุที่พึ่งตนเองได สุขจากการไดรับสนับสนุนจากครอบครัว สุขจาก
การไดรับการชวยเหลือจากสังคม และมีสิ่งแวดลอมที่เอื้อตอการยังชีพ
3. ดานความสัมพันธระหวางการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel
ADL index) กับความสุขของกลุมตัวอยาง พบวา การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันกับความสุขใน
ภาพรวมพบวาไมมีความสัมพันธกัน เมื่อพิจารณาความสัมพันธรายดานของความสุขกับการ
ปฏิบัติกิจวัตรชีวิตประจําวัน พบวา การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันกับสภาพจิตใจ สมรรถภาพจิตใจ
คุณภาพจิตใจมีความสัมพันธกันในระดับต่ํามาก (r=.001, r = .016 r = .03,) จากผลงานวิจัย
อภิปรายไดวา การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของกลุมตัวอยาง อาจไมใชตัวแปรที่แทจริงที่จะ
สะทอนถึงความสุขของผูสูงอายุในชุมชนบานทุงขุนนอย จากรายงานการวิจัยที่ผานมาสะทอนให
เห็นถึงความสุขของผูสูงอายุพบวาปจจัยที่มีผลตอความสุขในผูสูงอายุ คือ สุขภาพรางกายที่ดี
จิตใจสดชื่น ความสุขจากการพึงพอใจในชีวิตปจจุบัน ความสุขจากการชวยเหลือผูอื่น ความสุข
จากการตระหนักถึงคุณคาในตนเอง ความสุขจากการปฏิบัติกิจกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา
(วรรณาวิสาข ไชยโย, 2557) นอกจากนี้ยังพบวาการตระหนักถึงคุณคาในตนเอง การรับรูภาวะ
สุขภาพ การมีสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ การมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว การ
สื่อสาร การบรรลุเปาหมายในชีวิตและการมีสวนรวมในกิจกรรมและทําประโยชนใหชุมชนทําให
ผูสูงอายุมีความสุข (สุจิตรา สมพงษ, 2557; ขวัญสุดา บุญทศ และขนิษฐา นันทบุตร, 2560)
และเมื่อพิจารณาขอคําถามในงานวิจัยครั้งนี้ในแบบสัมภาษณ เรื่องความสุขจะเนนถึงเรื่อง
ความรูสึกภายใน เชน ความพึงพอใจ ความรูสึกเห็นอกเห็นใจ ความรูสึกมั่นคงปลอดภัย ความรู
ภูมิใจในตนเอง ซึ่งขอคําถามทั้งหมดสะทอนถึงสภาพจิตใจภายในของผูตอบแบบสอบถามที่
อาจจะไมเกี่ยวของโดยตรงกับการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผูสูงอายุ ซึ่งเปนการปฏิบัติกิจวัตร
ประจําวันตามธรรมชาติของผูสูงอายุและที่ผานมายังไมพบวามีงานวิจัย ความสัมพันธระหวาง
การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel ADL index) กับความสุขของ
ผูสูงอายุ แตมีงานวิจัยที่ใกลเคียง ของอัมพร เครือเอม (2561) ไดศึกษาความสุขในชีวิตของ
ผูสูงอายุ ในชมรมผูสูงอายุตําบลหนองโพ จังกวัดราชบุรี ที่พบวา ความสามารถในการดูแลตนเอง
แรงสนับสนุนทางสังคม พัฒนกิจครอบครัวระยะวัยชรา มีความสัมพันธทางบวกกับความสุขใน
ชีวิตของผูสูงอายุในชมรมผูสูงอายุตําบลหนองโพ จังหวัดราชบุรี อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 นอกจากนี้ยังพบวาการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันมีความสัมพันธกับภาวะซึมเศราในผูสูงอายุ
อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย โดยมีความสัมพันธกันในทางลบ
(� =-.161, p=.012) นั่นคือผูสูงอายุมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันสูงมี
�
แนวโนมที่จะมีความซึมเศราต่ํา (ปุณิกา กิตติกุลธนันท, 2560)