Page 60 - JRIHS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 60
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.2 No.4 October-December 2018 55
ธรรม (2558) ที่กลุมตัวอยางเพียง 7 คนจาก 78 คนที่ทราบวาการนั่งยอง ๆ นั่งไขวหางหรือนั่ง
พับเพียบในทาเดียวนาน ๆ เกิน 10- 15 นาที สงผลเสียตอเทา พยาบาลจึงควรเนนย้ําถึงผลเสียที่
จะเกิดขึ้นเมื่อมีการนั่งยอง ๆ นั่งไขวหางหรือนั่งพับเพียบในทาเดียวนาน ๆ เกิน 15 นาที ผูปวย
เบาหวานควรบริหารเทา โดยใชเทาฉีกหนังสือพิมพปนเปนกอนกลม เปนตน
ดานการดูแลรักษาบาดแผล ผูปวยเบาหวานมีพฤติกรรมดานการดูแลรักษาบาดแผล
ภาพรวมอยูในระดับปานกลาง (X̅ = 3.29, SD.= 0.56) โดยขณะมีแผลที่เทา จะดูแลบาดแผลให
สะอาด และแหงอยูเสมอ (X̅ = 3.14, SD.= 0.96) เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นเล็กนอย ทําความสะอาด
แผลดวยน้ําตมสุก หรือน้ําเกลือลางแผล (X̅ = 3.14, SD.=0.91) และใชน้ํายาเบทาดีนใสแผล (X̅ =
2.32, SD.= 0.93) สอดคลองกับการศึกษาของจิตรานนท โกสียรัตนาภิบาล (2554) ซึ่งการรักษา
แผลเบาหวานที่เทาในระดับไมรุนแรง ผูปวยหรือผูดูแลสามารถทําแผลไดเองที่บาน โดยทําความ
สะอาดแผลดวยน้ําเกลือปลอดเชื้อ (Normal Saline) วันละ 2 ครั้ง หามใช alcohol betadine
เขมขน น้ํายา dakin หรือ hydrogen peroxide ทําแผล เนื่องจากระคายเคืองเนื้อเยื่อมาก ซึ่ง
จะรบกวนการหายของแผล ควรหลีกเลี่ยงไมใหแผลเปยกน้ํา ถูกกด หรือรับน้ําหนัก หากแผลไม
หายภายใน 2 สัปดาห หรือแผลติดเชื้อ แพทยจะรับผูปวยไวในโรงพยาบาลเพื่อทําการเพาะเชื้อ
และใหการดูแลแผลที่เหมาะสมตอไป (อริสรา สุขวัจนี ,2558)
ขอเสนอแนะ
1. กอนใหความรูแกผูปวยเบาหวานพยาบาลควรประเมินการรับรู ความรู และ
พฤติกรรมการดูแลเทาเดิมของผูปวย กอนใหคําแนะนํา ซักถามถึงบริบท แบบแผนการดําเนิน
ชีวิตประจําวันวามีพฤติกรรมใดที่ผูปวยยังไมไดปฏิบัติ หรือปฏิบัติไมเหมาะสม มีอุปสรรค ปญหา
ใดที่ทําใหไมสามารถดูแลเทาอยางเหมาะสม และรวมกันหาวิธีดูแลเทาที่ถูกตอง และผูปวย
ยอมรับไดในบริบทนั้น ๆ เพื่อใหผูปวยเบาหวานนําไปปฏิบัติไดจริง
2. จากผลการวิจัยพบวา ผูปวยมีพฤติกรรมใชมีด ไม หรือของแข็งอื่น ๆ แคะซอกเล็บ
เทาเพื่อทําความสะอาด และลางเทาอยูในระดับมาก แตพฤติกรรมการแชเทาในน้ําอุนใหเล็บนิ่ม
กอนตัด ใสรองเทาบางๆ ขณะเดินอยูในบาน อยูในระดับพอใช ผูปวยเลือกใชรองเทาแตะแบบ
สวมและแบบคีบเปนสวนใหญ และพฤติกรรมการเลือกใชรองเทา การเปลี่ยนรองเทาใหมอยูใน
ระดับที่นอยกวาพฤติกรรมการดูแลเทาในดานอื่นๆ จึงควรใหความรูแกผูปวยเบาหวานทราบถึง
ความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เทาที่มีมากกวาบุคคลอื่น ควรเลือกใชรองเทาแบบหุมสน ที่นิ่ม ไมรัด
แนน เมื่อตองเปลี่ยนรองเทาคูใหมควรสวมรองเทาใหมสลับกับรองเทาคูเกานานครั้งละครึ่ง
ชั่วโมง และคอยเพิ่มเวลาใหนานขึ้นในวันตอไป ไมควรใชของแข็ง หรือไม แคะเล็บเพื่อลดความ
เสี่ยงการเกิดบาดแผลที่เทา และควรแชเทาในน้ําอุนใหเล็บนิ่มกอนตัด ใสรองเทาบางๆ ขณะเดิน
อยูในบาน