Page 34 - JRIHS VOL3 NO1 January - March 2019
P. 34
Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences : Vol.3 No.1 January-March 2019 29
วัตถุประสงคของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสรางเสริมสุขภาพสําหรับผูปวยโรคเบาหวาน โรงพยาบาล
สงเสริมสุขภาพตําบลดงบัง อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สมมติฐานการวิจัย
หลังเขารวมโปรแกรมสรางเสริมสุขภาพ ผูปวยเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพ สูงกวากอน
เขารวมโปรแกรมสรางเสริมสุขภาพ
ขอบเขตการวิจัย
1. ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ในการศึกษาเปนผูที่ไดรับการวินิจฉัยจากแพทยวาปวย
เบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลดงบัง จํานวน 128 คน
2. เนื้อหา โปรแกรมสรางเสริมสุขภาพสําหรับผูปวยโรคเบาหวาน ประกอบดวย
พฤติกรรมสงเสริมสุขภาพตามแนวคิดแบบจําลองการสงเสริมสุขภาพของ Pender ประกอบดวย
ดานความรับผิดชอบตอสุขภาพ ดานกิจกรรมดานรางกาย ดานโภชนาการ ดานความสัมพันธ
ระหวางบุคคล ดานจิตวิญญาณ และดานการจัดการความเครียด
วิธีดําเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) แบบกลุม
เดียว วัดกอนและหลังการทดลอง (One Group Pre – Post test Design)
ประชากร ในการศึกษาเปนผูที่ไดรับการวินิจฉัยจากแพทยวาปวยเบาหวานชนิดที่ 2
ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลดงบัง จํานวน 128 คน กําหนดขนาด
กลุมตัวอยางโดยการวิเคราะหอํานาจทดสอบใชโปรแกรมสําเร็จรูป (G*power Analysis)
กําหนดระดับอํานาจทดสอบที่ 0.80 ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.5 และขนาดอิทธิพลระดับปาน
กลาง พบวาตองใชกลุมตัวอยาง อยางนอย 15 ราย ทั้งนี้ผูวิจัย ไดคัดเลือกกลุมตัวอยาง 30 ราย
ไดแก ผูปวยเบาหวานที่มีคาระดับนํ้าตาล ในเลือดตั้งแต 130 mg/dl ขึ้นไป 3 เดือนตอเนื่องกัน
และไดรับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลดงบัง มีคุณสมบัติตาม
เกณฑการคัดเขา (Inclusion Criteria) ดังนี้ 1) ไดรับการรักษาดวยยาเม็ดลดระดับน้ําตาลใน
เลือด ไมไดรับการรักษาโดยการฉีดอินซูลิน ไมมีภาวะแทรกซอน 2) มีผลการตรวจระดับน้ําตาล
ในเลือดหลังงดอาหาร อยางนอย 8 ชั่วโมง มีคามากกวา 130 mg% 3) มีอายุตั้งแต 35 ปขึ้นไป
ทั้งเพศหญิงและชาย 4) ชวยเหลือตนเองไดดี ไมมีปญหาในการพูด ฟง อาน หนังสือออก เขียน
หนังสือได 5) สมัครใจในการเขารวมโปรแกรมตั้งแตเริ่มตนถึง สิ้นสุดการวิจัย