Page 79 - JRIHS VOL1 NO3 October-December 2017
P. 79

74  Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

             ความเชื่อมั่นจะเปนผลใหเกิดขอผูกมัดตามมา อันเกิดเปนความผูกพันขึ้น นอกจากนี้การมี
             สัมพันธภาพดีกับเพื่อน มีความรักความผูกพันชวยเหลือเกื้อกูลกัน จะทําใหการเรียนมีความสุข

             ไมเกิดปญหา ทําใหการเรียนสําเร็จได สอดคลองกับการศึกษาของ พิชฌายวีร สินสวัสดิ์ และ
             เบญจวรรณ พิททารต (2559) พบวา ปจจัยดานสัมพันธภาพระหวางนักศึกษากับเพื่อน มี
             ความสัมพันธทางบวกกับคุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาพยาบาล ทําใหนักศึกษาเกิดความสุข
             ในการเรียนและเรียนไดสําเร็จตามหลักสูตร
                     ดานความรักในวิชาชีพพยาบาล พบวา มีความสัมพันธกับการคงอยูของนักศึกษาพยาบาล

             ศาสตร ในการศึกษาคณะพยาบาลศาสตรในระดับมาก (r = 0.73) อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.01
             เปนไปไดวาอาชีพพยาบาลเปรียบเหมือนนางฟาในชุดสีขาว เพราะพยาบาลเปนอาชีพที่นายกยอง มี
             ความมั่นคง จึงเปนความใฝฝนของผูหญิงหลายคน ผูที่เขามาศึกษาในวิชาชีพนี้ จึงตองมีพื้นฐานใน

             ดานของความรักในวิชาชีพ มีการศึกษาเหตุผลที่เขาศึกษาคณะพยาบาลศาสตรของสถาบันแหงหนึ่ง
             พบวา สวนใหญ มีความสนใจ/ความรักในอาชีพ (รอยละ 65.4) ซึ่งการเรียนพยาบาลนั้น นอกจาก
             จะขยัน ตั้งใจเรียนแลว สิ่งที่ยังทําใหนักศึกษายังคงเรียนอยูในมหาวิทยาลัย คือ ความรักในวิชาชีพ
             หากขาดความรักในวิชาชีพที่เลือก ก็ทําใหไมสามารถคงทนอยูในงานไดนาน นอกจากนี้ผลการวิจัย

             ยังสอดคลองกับผลการวิจัย เรื่องเจตคติตอวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัย
             พยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ ที่พบวา เหตุผลสวนใหญ ที่นักศึกษาพยาบาลเลือกเรียนในวิชาชีพ
             การพยาบาลเพราะชอบ และรักในวิชาชีพการพยาบาล (อนัญญา คูอาริยะกุล และคณะ, 2557)
             ความรักในวิชาชีพจะสงผลไปจนถึงการปฏิบัติงานหลังจากเรียนจบไปแลว เพราะหากทํางานโดยไม

             มีความรักในอาชีพก็จะไมสามารถมีความสุขกับงานที่ทําได ทําใหตองลาออกจากงาน ดังนั้น การ
             ทํางานที่รักที่ชอบจะทําใหคงอยูในงานไดนาน สอดคลองกับการศึกษาของ ศิริพร จิรวัฒนกุล และ
             คณะ (2555) ที่พบวา ความสุขกับความคิดคงอยูในวิชาชีพของพยาบาลไทย กลาวคือ ความสุขเกิด
             จากใจรักในวิชาชีพ และการชวยผูปวยและประชาชน เสมือนวา “ไดทําบุญทุกวันจากการใหการ

             พยาบาล” และอุดมการณนี้เองที่หลอเลี้ยงจิตวิญญาณของพยาบาลใหเขมแข็ง สามารถคงอยูใน
             วิชาชีพนี้ได แมวาสวนใหญไมมีความสุขในการทํางาน
                     ดานเศรษฐกิจ มีความสัมพันธกับการคงอยูของนักศึกษาพยาบาลศาสตร ในการศึกษา
             คณะพยาบาลศาสตร ในระดับปานกลาง (r = 0.52) อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.01 อธิบายได

             วาในการศึกษายุคปจจุบัน นักศึกษาตองชําระคาเลาเรียนทางการศึกษา โดยอาศัยเงินจาก
             ครอบครัว เนื่องจากนักศึกษาพยาบาลยังเปนผูที่ไมมีรายได สวนใหญจะไดรับเงินคาใชจายจาก
             ผูปกครอง ซึ่งผูปกครองหรือครอบครัวของนักศึกษาสวนใหญ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจาง
             ทั่วไป จึงอาจสงผลใหเกิดปญหาการเงินตามมาได ทําใหนักศึกษาลาออกจากการเรียนกอนสําเร็จ

             การศึกษา จึงทําใหบางสถาบันการศึกษา มีโครงการกูยืมเงินเพื่อศึกษา เพื่อชวยใหนักศึกษาบาง
             รายไดเลาเรียนตอ สอดคลองกับผลการวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการใหเงินกูยืมเพื่อการศึกษา
             ของภาครัฐในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย กลาววา การจัดตั้งกองทุนเงินใหกูยืมเพื่อ
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84