Page 103 - JRISS_VOL1
P. 103

สําหรับบทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Innovative Social Science

               จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาลงตีพิมพ์ใน
               วารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง การเผยแพร่

               ต่อไปต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์


               การพิจารณาบทความ (Editorial and Review Process)

                      บทความจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ
               และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาเพื่อทําการกลั่นกรองและตรวจสอบคุณภาพของบทความ ดังนี้

                      1. กองบรรณาธิการแจ้ง/ตอบกลับการได้รับบทความตามข้อกําหนดการส่งบทความ
               จากนั้นกองบรรณาธิการจะตรวจสอบชื่อเรื่องและเนื้อหาของบทความว่าเหมาะสมกับ

               วัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขต (Scope) ของวารสาร

                      2. เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรว่าบทความเป็นบทความที่เหมาะสมกับ
               วัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขต (Scope) ของวารสารจะดําเนินการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา

               เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความนั้นๆ ต่อไป โดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะเป็นผู้พิจารณาว่าบทความ
               อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์ได้หรือบทความนั้นๆ ควรมีการแก้ไขในบางส่วนก่อนการ

               ตีพิมพ์ หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ โดยกองบรรณาธิการจะอ้างอิงจากข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ

                      3. กองบรรณาธิการส่งหนังสือตอบรับการตีพิมพ์หรือปฏิบัติการตีพิมพ์ให้เจ้าของ
               บทความ


               ประเภทของผลงานวิชาการที่เปิดรับตีพิมพ์

                      1. บทความวิจัย (Research Article) เป็นงานเขียนที่เกิดจากการวิจัยของผู้เขียนหรือ

               สมาชิกร่วมในงานวิจัยนั้น อย่างเป็นระบบ และไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อน
                      2. บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความทางวิชาการที่นําเสนอ

               เนื้อหาสาระทางวิชาการที่น่าสนใจ ซึ่งผ่านการวิเคราะห์ หรือประมวลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น

               จากการวิจัยที่ผ่านมา จากเอกสารอ้างอิง จากความคิดเห็นของผู้เขียนและผู้อื่น อาจมีการ
               นําเสนอในมุมมองใหม่ ที่สนับสนุนหรือค้านต่อทฤษฎี หรือองค์ความรู้ทางวิชาการเดิม หรือเป็น

               การนําเสนอแนวทางในการวิเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีผู้รวบรวมเรียบเรียง หรือ
               วิเคราะห์มาก่อน
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108